วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สิทธิมนุษยชน

อำนาจพิจารณาคดีของไอซีซีกับกรณีการถือสองสัญชาติของผู้นำทหารอิสราเอล

แปลจากบทความ Fighting Dirty In Israel โดย Dan Ephron จากนิตยสารนิวส์วีค ตีพิมพ์เมื่อวันที่  28 กันยายน พ.ศ. 2551
หัวหน้าอัยการของศาลอาญาระหว่างประเทศ นาย
 ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ (Luis Moreno-Ocampo)  พยายามหลีกเลี่ยงทำคดีที่เป็นที่โต้แย้ง โดยเขาหวังว่าจะหยุดความกลัวของอเมริการที่มองว่าศาลไอซีซีจะถูกใช้เป็นเครื่องมื่อทางการเมืองเพื่อแก้แค้นกันของฝ่ายต่างๆ นั้นคือสาเหตุว่าเหตุใดถึงจะเป็นเรื่องน่าประหลาดใจที่ขณะนี้นาย ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ  จะพิจารณาทำการสอบสวนพันโทสำรอง เดวิด เบนจามิน นายทหารจากกองทัพอิสราเอลว่าได้กระทำผิดอาชญากรรมสงครามในระหว่างแคมเปญกาซ่าเมื่อต้นปีนี้หรือไม่ ประเทศอิสราเอลมิได้ลงสัตยาบรรณต่อสนธิสัญญาก่อตั้งศาลไอซีซี ดังนั้นคดีจึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาคดีของนาย ลูอีส มอเรโน โอคัมโพ แต่ด้วยความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย อัยการบอกนิวส์วีคว่า เขาเชื่อว่า เขามีอำนาจเพียงพอในการดำเนินการสอบสวนคดีนี้ เนื่องจากเบนจามินถือสองสัญชาติ คือสัญชาติอิสราเอลและแอฟฟริกาใต้ โดยประเทศหลังได้ลงนามในสนธิสัญญาก่อตั้งศาลไอซีซี ซึ่งทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีดังกล่าว
อาจเป็นเรื่องยากที่จะพิสูจน์รายละเอียดคดี เบนจามินบอกนิวส์วีคว่าเขาอยู่นอกประเทศในระหว่างการปฏิบัติการกาซ่าเกือบทั้งหมดและไม่ได้มีบทบาทในการวางแผนแต่อย่างใด แต่ประเด็นเรื่องสองสัญชาติอาจถือเป็นบรรทัดฐานที่เป็นภัยต่อทั้งประเทศอิสราเอลและประเทศสหรัฐอเมริกา สองประเทศไม่ยอมรับอำนาจพิจารณาคดีของศาลไอซีซีได้ หากศาลสามารถสอบสวนคนอิสราเอลเพราะการถือสัญชาติแอฟฟริกาใต้ได้ แล้วทำไมจะไม่สามารถสอบสวนคนอเมริกันที่ถือสัญญาติเม็กซิโกได้? “การสัณนิษฐานดังกล่าวต่อกรณีของประเทศสหรัฐอาจมีเกิดปัญหาได้” นายไมเคิล นิวตัน ศาสตราจารย์กฎหมายระหว่าประเทศจากมหาวิทยาลัย Vanderbilt กล่าว แต่จนถึงขณะนี้ดูจะเป็นปัญหาต่อศาลที่ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องดังกล่าวมากกว่า ในการต่อสู้เพื่อจัดตั้งความชอบด้วยกฎหมายในกรณีดังกล่าว
2
ก.พ.

ฟรีดอมเฮาส์และนักข่าวไร้พรหมแดนระบุสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยดีขึ้น

รายงานล่าสุดขององค์กรฮิวแมนไรท์วอซซ์ที่กลายเป็นข่าวโด่งดังเป็นสาเหตุทำให้รายงานสองฉบับที่เผยแพร่เมื่อปลายเดือนมกราคมจากองค์กรระหว่างประเทศองค์กรใหญ่ไม่ได้รับความสนใจในประเทศไทย รายงาน “เสรีภาพในโลกปี  2555” ขององค์กรฟรีดอมเฮาส์และรายงาน“การจัดลำดับเสรีภาพสื่อ”ของนักข่าวไร้พรหมแดนทำให้เห็นทิศทางที่ค่อนข้างแตกต่างเกี่ยวกับประเทศไทยนับตั้งแต่การเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งองค์กรฮิวแมนไรท์อ้างอย่างไร้สาระว่า การเลือกตั้งไม่ได้ส่งผลใดๆต่อประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
นักข่าวไร้พรหมแดนจัดเสรีภาพสื่อในประเทศไทยให้อยู่ในลำดับที่ 137 ในความเป็นจริง การได้รับลำดับอันน่าสยดสยองนี้ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ยังคงเป็นเวลาอีกนานก่อนที่ประเทศไทยจะเดินหน้าไปสู่การเป็นประเทศเสรี หรือกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อนที่จะมีการทำรัฐประหาร แต่ในอีกแง่หนึ่ง  นักข่าวไร้พรหมแดนได้ยืนยันว่ามีเสรีภาพการแสดงออกในประเทศไทยมีการพัฒนาขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในลำดับที่ 153 จากการสำรวจทุกประเทศในโลก และลำดับที่ลดลงของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2551  ได้หยุดนิ่งลง
และยังพบว่าประเทศไทยมีการพัฒนาในรูปแบบเดียวกันจากการจัดลำดับ “เสรีภาพในโลกปี 2555” ขององค์กรฟรีดอมเฮาส์ที่เน้นในเรื่องของสิทธิทางการเมืองและสิทธิทางพลเรือนอย่างกว้าง ในปีที่แล้ว (และปีก่อนหน้านี้) ประเทศไทยได้รับ 5 คะแนนในด้าน “สิทธิทางการเมือง” และได้รับ 4 คะแนนด้าน “สิทธิพลเรือน” ( โดยมีเกณฑ์การวัดที่คะแนนสูงสุดคือ 1 และอย่ที่สุดคือ 7) และโดยรวมแล้วประเทศไทยถูดจัดให้เป็นประเทศที่ “มีเสรีภาพบางส่วน” แม้ว่าประเทศไทยจะยังคงถูกจัดลำดับให้เป็นประเทศที่ “มีเสรีภาพบางส่วน” ในรายงานฉบับนี้ แต่คะแนนด้านสิทธิทางการเมืองดีขึ้น โดยได้ 4คะแนน ที่สำคัญกว่านั้นคือ ประเทศไทยได้ฟื้นฟูสถานภาพของ “ประชาธิปไตยในรูปแบบการเลือกตั้ง” อีกครั้ง ซึ่งหายไปนับตั้งแต่การทำรัฐประหารปี 2549 องค์กรฟรีดอมเฮาส์ปฏิเสธที่จะจัดให้ประเทศไทยมีสถานะ “ประชาธิปไตยในรูปแบบการเลือกตั้ง” หลังจากการเลือกตั้งปี 2550 ซึ่งถูกมองว่าไม่ “เป็นอิสระและยุติธรรม” แม้ว่าจะมีการปกครองโดยพลเรือนก็ตาม
การจัดลำดับของนักข่าวไร้พรหมแดนและองค์กรฟรีดอมเฮาส์แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลใหม่ได้นำพาประเทศไทยกลับมาสู่การเป็นประเทศประชาธิปไตย แม้ว่าจะถูกขัดขวางก็ตาม การพัฒนาเพียงเล็กน้อยการสำรวจจากสององค์กรจึงไม่ถือว่าน่าพึงพอใจหรือควรจะเฉลิมฉลอง อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยที่สุด รายงานทั้งสองแสดงให้เห็นว่ามันมีความแตกแต่งระหว่างรัฐบาลที่เลือกโดยทหารและรัฐบาลที่เลือกโดยประชาชน ความแตกต่างนั้นคือ ประเทศไทยที่ถอยหลังลงคลองหรือประเทศไทยที่ก้าวไปข้างหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น